2009/12/22

The Reader / ในอ้อมกอดรักไม่ลืมเลือน [VCD Master][พากษ์ไทย์]


เนื้อเรื่อง The Reader / ในอ้อมกอดรักไม่ลืมเลือน

...เบื้องหลังปริศนามีหนึ่งความจริงอำพราง
ซึ่งทำให้เราต้องตั้งคำถาม ต่อทุกสิ่งที่เคยรู้มา...
ภาพยนตร์ในความทรงจำแสนรักของ แอนโธนี มิงเกลลา และ ซิดนีย์ พอลแล็ก
เบื้อง หลังงานสร้าง THE READER นำเสนอเรื่องหลอนลวงเกี่ยวกับความจริงและการหวนกลับมาพบกันอีกครั้งพร้อม ด้วยเรื่องราวของคนรุ่นหนึ่งที่ต้องรับกรรมจากการที่คนรุ่นก่อนตกเป็น อาชญากรสงคราม นำแสดงโดย เรล์ฟ ไฟนส์, เดวิด ครอซ และ เคต วินสเลตกำกับโดย สตีเฟน ดัลดรี(ผู้กำกับซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงออสการ์จากเรื่อง THE HOURS)จากบทภาพยนตร์โดย เดวิด แอร์ซึ่งอ้างอิงกับนวนิยายชนะรางวัลจากปลายปากกาของ เบอร์นาร์ด ชลิงก์โดยที่นวนิยายนั้นได้รับการแปลถึง 40 ภาษาและเป็นนวนิยายเยอรมันเล่มแรกที่ขึ้นครองอันดับหนึ่งของตารางหนังสือขาย ดีในNew York Times ได้
จากหนังสือสู่แผ่นฟิล์ม หลายๆ มุมในเรื่องราวสะเทือนอารมณ์ของ THE READER มีพลังแห่งถ้อยคำและวรรณศิลป์สร้างภาพให้ปรากฏขึ้นได้อย่างลึกซึ้ง ตรึงใจเรียกว่าเหมาะสมแล้วหากจะมีภาพยนตร์สักเรื่องถือกำเนิดขึ้นจากหนังสือ ที่เรียงร้อยถ้อยคำอย่างงดงามและเรียบง่าย แต่สะเทือนไปถึงขั้วอารมณ์ หรือตามที่ Los Angeles Timesสะบัดหมึกไว้ว่า “นี่คือนวนิยายที่เรียบหรูดูงาม ชวนติดตามจนวางไม่ลงและสุดท้ายก็มุ่งตรงเข้าทำลายกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมจน ย่อยยับ”
งานกึ่งอัตชีวประวัติเล่มนี้เขียนโดยเบอร์นาร์ด ชลิงก์ชาวเบอร์ลินผู้เป็นทั้งอาจารย์กฎหมายและนักเขียนแนวลึกลับ ตีพิมพ์ในปี1995 ต่อมาได้รับการแปลถึง 40 ภาษาและกลายเป็นนวนิยายเยอรมันเรื่องแรกที่ก้าวขึ้นไปครองอันดับหนึ่งบน ตารางหนังสือขายดีของ New York Times กระทั่งแพร่หลายเป็นที่นิยมกันไปทั่วในปี1999 หลังจากที่ โอปราห์ วินฟรีย์เลือกใช้ชื่อนวนิยายเล่มนี้เป็นชื่อสำหรับบุ๊คคลับอันโด่งดังของเธอ “ใครจะคิดว่าหนังสือแค่ 218 หน้าจะรบกวนอารมณ์ได้มากมายขนาดนี้คะ” โอปราห์วินฟรีย์ ตั้งคำถามและตั้งข้อสังเกตว่ามีคนอ่านนวนิยายเรื่องนี้มากกว่าหนังสือเรื่อง อื่นๆที่บุ๊คคลับของเธอคัดสรรมาตั้งแต่ก่อนที่จะนำมันมาพูดคุยกันในรายการ ของเธอเสียอีก
“เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มคนที่เรียกกันว่า ‘ชนรุ่นสอง’ ครับ” ชลิงก์บอก และอธิบายว่าหมายถึงกลุ่มเด็กๆ ที่“เกิดช้าไปหน่อย แต่โชคดีที่สุด”ซึ่งเติบโตในยุคหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง“พวก เราเติบโตขึ้นมาอย่างบริสุทธิ์ใสซื่อแต่ในขณะเดียวกันก็รับรู้สิ่งที่คนรุ่น พ่อแม่ บาทหลวงและคุณครูของเราเคยกระทำไว้กับการต้องรักใครสักคนที่เคยพัวพันกับ เรื่องเลวร้ายน่ะน่าปั่นป่วนใจจริงๆ” ในประเทศเยอรมัน ความรู้ความเข้าใจในเรื่องสงครามกลายเป็นศัพท์ทางจิตวิทยาว่า – vergangenheitsbew?ltigung – หมายถึง“ความพยายามอย่างยิ่งยวดเพื่อเข้าใจและยอมรับอดีต” ยิ่งไปกว่านั้นนวนิยายเรื่องนี้ถือว่ามีส่วนสำคัญต่อการเข้าใจประวัติศาสตร์ ของประเทศมากมายถึงขนาดที่ว่าโรงเรียนในเยอรมันนำไปใช้เป็นตำรา

1 comment: